สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนดูแลเด็กเล็ก

     ในปัจจุบันการเลี้ยงเด็กเล็กเผชิญความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ผู้ปกครองมักขาดเวลาและความรู้ที่เหมาะสม ทำให้เกิดปัญหาในด้านพัฒนาการ สุขภาพ และพฤติกรรมของเด็ก อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันยังส่งผลต่อการเรียนรู้และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ

     การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงเด็กเล็กในปัจจุบันเริ่มจากการให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลระหว่างเวลาทำงานและเวลาเลี้ยงดูเด็ก พร้อมทั้งเสริมความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ผู้ปกครองควรส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสม ลดการใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น และให้ความสำคัญกับการสื่อสารเชิงบวก เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมและจิตใจของเด็กอย่างเต็มที่

การดูแลเด็กเล็กต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง?

  • พัฒนาการของเด็กแต่ละช่วงวัย
  • โภชนาการที่เหมาะสม 
  • การดูแลสุขภาพพื้นฐาน
  • ความปลอดภัยในบ้าน
  • การสร้างตารางการกิน-นอนที่สม่ำเสมอ
  • การส่งเสริมพัฒนาการเด็กทางอารมณ์และสังคม
  • ทักษะการรับมือกับอารมณ์เด็กเล็ก
  • การสอนเรื่องระเบียบวินัย
  • เตรียมตัวสำหรับการเข้าสังคม
  • การประเมินและติดตามพัฒนาการ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะต้องดูแลเด็กเล็ก​

สาระบัญความรู้เกี่ยวกับเด็กเล็ก

พัฒนาการของเด็กเล็กในแต่ละช่วงวัย

รู้และเข้าใจพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญาในแต่ละช่วงวัย เพื่อช่วยเสริมสร้างทักษะที่เหมาะสม

  • พัฒนาการเด็กแรกเกิด – 3 เดือน

    • เริ่มจ้องมองและตอบสนองต่อเสียง
    • พยายามยกศีรษะเมื่ออยู่ในท่านอนคว่ำ
    • จับนิ้วหรือของเล่นเล็ก ๆ ได้เบา ๆ
  • เด็ก 4 – 6 เดือน

    • พลิกตัวจากท้องเป็นหลังและจากหลังเป็นท้อง
    • หัวเราะและยิ้มตอบสนองต่อคนรอบข้าง
    • เริ่มหยิบจับของเล่นและนำเข้าปาก
  • เด็ก 7 – 9 เดือน

    • นั่งได้เองโดยไม่ต้องพยุง
    • ใช้นิ้วหยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้
    • เริ่มคลานหรือขยับตัวเพื่อเคลื่อนที่
  • เด็ก 10 – 12 เดือน

    • ยืนจับขอบโต๊ะและเดินได้เมื่อมีคนช่วยจับ
    • เรียกชื่อและรับรู้คำสั่งง่าย ๆ
    • ใช้คำพูดง่าย ๆ เช่น “พ่อ” หรือ “แม่”
  • เด็ก 1 – 2 ปี

    • เดินได้เองและเริ่มวิ่ง
    • เริ่มพูดเป็นคำสั้น ๆ หลายคำ
    • ทำตามคำสั่งง่าย ๆ และเริ่มเล่นของเล่นที่ต้องใช้มือ
  • เด็ก 2 – 3 ปี

    • วิ่งและขึ้นลงบันไดได้เอง
    • ใช้คำพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ได้
    • เริ่มรู้จักการแบ่งปันและเล่นร่วมกับเพื่อน
จิตวิทยาเด็กคืออะไร?

จิตวิทยาเด็กคืออะไร?

  • การศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็กเล็ก
  • เน้นทำความเข้าใจพฤติกรรม ความคิด และอารมณ์ของเด็กเล็กในแต่ละช่วงวัย

จิตวิทยาเด็กสำคัญต่อการเลี้ยงดูอย่างไร?

  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและเด็ก ส่งเสริมทักษะทางสังคมผ่านการเล่นและการพูดคุย

    • ช่วยเข้าใจพฤติกรรม จิตวิทยาเด็กทำให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าเหตุใดเด็กเล็กจึงแสดงพฤติกรรมบางอย่าง
    • ส่งเสริมพัฒนาการ สามารถสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์และสังคมได้อย่างถูกวิธี
    • ปรับตัวในการเลี้ยงดู ผู้ปกครองสามารถปรับวิธีการเลี้ยงดูให้เหมาะสมกับความต้องการและอารมณ์ของเด็กแต่ละคน
    • เสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกเป็นที่รักและปลอดภัย
    • สร้างความสัมพันธ์ที่ดี จิตวิทยาเด็กช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งระหว่างเด็กและผู้ปกครอง

    หมั่นสังเกตพัฒนาการของเด็กว่ามีปัญหา การเดิน การพูด หรือไม่ เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลที่เหมาะสมและทันท่วงที

กิจกรรมสำหรับเด็กเล็กช่วยอะไร?

ฝึกให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ผ่านการเล่นกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจและทักษะสังคม

  • พัฒนากล้ามเนื้อ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่
  • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ผ่านการวาดรูปและเล่นบทบาทสมมติ
  • เสริมทักษะการเข้าสังคม ช่วยฝึกการเล่นร่วมกับเพื่อน เรียนรู้การแบ่งปันและการสื่อสารเป็นกิจกรรมสำหรับเด็กที่สำคัญ
  • พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เด็กเรียนรู้การคิดแก้ไขปัญหาผ่านการเล่นเกมและทำจิ๊กซอว์
  • เสริมสร้างสมาธิ กิจกรรมการวาดรูปและการอ่านช่วยให้เด็กมีสมาธิและความตั้งใจ
  • เพิ่มทักษะการเรียนรู้ ช่วยเพิ่มคำศัพท์และฝึกทักษะพื้นฐาน การนับเลขและการจำแนกสี
  • พัฒนาการควบคุมอารมณ์ ช่วยให้เด็กเรียนรู้การจัดการกับอารมณ์ผ่านการเล่นและการทำกิจกรรมสำหรับเด็กต่าง ๆ

 

กิจกรรมพัฒนาทักษะสำหรับเด็กเล็กมีอะไรบ้าง?

  • ระบายสีและวาดภาพ พัฒนากล้ามเนื้อมือ กระตุ้นพัฒนาการเด็ก และความคิดสร้างสรรค์
  • การเล่านิทาน เสริมทักษะการฟังและเพิ่มคลังคำศัพท์
  • เล่นบล็อกหรือจิ๊กซอว์ ช่วยพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและความคิดเชิงตรรกะ
  • ร้องเพลงและเต้นรำ เสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวและจังหวะ
  • เล่นของเล่นจับคู่สีและรูปทรง ช่วยพัฒนาทักษะการจำและการรับรู้
  • การเล่นบทบาทสมมติ ส่งเสริมการแสดงออกและความคิดสร้างสรรค์
  • เล่นทรายหรือน้ำ ช่วยพัฒนาประสาทสัมผัสและการควบคุมกล้ามเนื้อมัดเล็ก
  • การนับเลขหรือเรียงลำดับ เสริมทักษะคณิตศาสตร์เบื้องต้น
  • อ่านหนังสือภาพ พัฒนาทักษะการอ่านและส่งเสริมความสนใจในการเรียนรู้และกระตุ้นพัฒนาการเด็ก
  • เล่นกับเพื่อน ฝึกทักษะการเข้าสังคมและการแบ่งปัน
ของเล่นเด็กเล็ก

ของเล่นที่เหมาะกับเด็กเล็กมีอะไรบ้าง?

  • บล็อกตัวต่อ ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อมือและการคิดเชิงตรรกะ
  • จิ๊กซอว์ขนาดใหญ่ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการสังเกต
  • ลูกบอลนุ่ม เสริมสร้างการเคลื่อนไหวและการประสานงาน
  • ของเล่นกด-หมุน-ดึง ฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กและการใช้มือ
  • หนังสือภาพ ช่วยเสริมคำศัพท์และกระตุ้นความสนใจในการอ่าน
  • ตุ๊กตาและของเล่นบทบาทสมมติ ส่งเสริมจินตนาการและการแสดงออก
  • ของเล่นดนตรี ของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก กลองหรือเครื่องดนตรีเด็ก เสริมการฟังและความสนุก
  • ของเล่นเรียงลำดับสีและรูปทรง ช่วยฝึกการจดจำและการจำแนกประเภท
  • บล็อกไม้หรือพลาสติกสีสันสดใส ของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก เสริมพัฒนาการด้านสีและรูปทรง 
  • ของเล่นน้ำและทราย กระตุ้นประสาทสัมผัสและความคิดสร้างสรรค์

วิธีสอนให้เด็กเล็กรู้จักระเบียบวินัย

เริ่มสอนให้เด็กเข้าใจเรื่องการแบ่งปัน การรอคอย และการเก็บของเล่นอย่างเป็นระเบียบ

  • เป็นตัวอย่างที่ดี แสดงพฤติกรรมที่เป็นระเบียบให้เด็กเห็นและทำตาม
  • ใช้คำชมเมื่อทำดี ให้คำชมเมื่อเด็กทำตามกฎหรือตามข้อตกลง
  • ตั้งกฎที่เข้าใจง่าย กำหนดกฎระเบียบง่าย ๆ และอธิบายให้เด็กเข้าใจ
  • สร้างตารางกิจวัตรประจำวัน จัดตารางเวลาสำหรับการกิน นอน และเล่น เพื่อสร้างความคุ้นเคย
  • ใช้คำอธิบายที่อ่อนโยน พูดคุยด้วยน้ำเสียงอ่อนโยนและเข้าใจ เพื่อให้เด็กยอมรับ
  • ให้ตัวเลือกเพื่อฝึกการตัดสินใจ ให้เด็กเลือกทำสิ่งที่เหมาะสมเพื่อฝึกการคิดเอง
  • สอนการรับผิดชอบผลของการกระทำ ให้เด็กเข้าใจผลที่ตามมาของพฤติกรรมเด็กที่ไม่เป็นระเบียบ
  • คงความสม่ำเสมอ ทำตามกฎและข้อตกลงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจที่แน่นอน
  • ใช้เวลาอธิบายให้เข้าใจเมื่อทำผิด ชี้แนะด้วยเหตุผลเมื่อเด็กทำผิด เพื่อให้เข้าใจว่าควรทำอย่างไรแทน
  • เสริมสร้างความมั่นใจ ให้เด็กมั่นใจว่าเขาทำได้และให้โอกาสพัฒนาพฤติกรรมเด็กอยู่เสมอ

วิธีจัดการเมื่อเด็กเล็กมีพฤติกรรมดื้อหรือก้าวร้าว

เด็กเล็กมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ควรเรียนรู้วิธีจัดการกับอารมณ์ของเด็ก การงอแง การร้องไห้ และการแสดงออกที่ไม่คาดคิด

  • ใจเย็นและสงบสติอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ของตัวเองเพื่อไม่ให้สถานการณ์แย่ลง
  • รับฟังและเข้าใจสาเหตุ พยายามเข้าใจว่าทำไมเด็กถึงดื้อหรือก้าวร้าว อาจเป็นเพราะต้องการความสนใจหรือไม่สบายใจ
  • สอนวิธีแสดงอารมณ์ที่เหมาะสม ชี้แนะให้เด็กแสดงความรู้สึกด้วยคำพูดแทนการก้าวร้าว
  • ตั้งขอบเขตที่ชัดเจน บอกเด็กว่าพฤติกรรมไหนที่ยอมรับได้ และอะไรที่ไม่ควรทำ
  • ให้คำชมเมื่อทำดี ชมเชยและให้กำลังใจเมื่อเด็กทำพฤติกรรมที่ดี เพื่อลดการดื้อและเพิ่มการทำดี
  • ใช้วิธีการเบี่ยงเบนความสนใจ พาเด็กไปทำกิจกรรมอื่นเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากสถานการณ์ที่ไม่ดี
  • ไม่ให้รางวัลกับพฤติกรรมไม่ดี อย่ายอมให้เด็กได้สิ่งที่ต้องการจากพฤติกรรมดื้อหรือก้าวร้าว
  • สร้างกิจวัตรประจำวันที่สม่ำเสมอ กิจวัตรที่แน่นอนช่วยให้เด็กปรับตัวและรู้ขอบเขตการทำพฤติกรรมที่เหมาะสม
  • พูดคุยเมื่อเด็กสงบลง อธิบายว่าพฤติกรรมก้าวร้าวไม่ใช่ทางออก และบอกวิธีการแสดงอารมณ์ที่ถูกต้อง
  • ขอความช่วยเหลือหากจำเป็น หากพฤติกรรมก้าวร้าวเกิดบ่อยและรุนแรง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำแนะนำเพิ่มเติม

เด็กเล็กควรมีตารางการกิน การนอน และการเล่นอย่างไร?

วางแผนตารางการกิน นอน และกิจกรรม เพื่อให้เด็กเล็กมีสุขภาพดีและรู้สึกปลอดภัย

  • ารกิน

    • อาหารเช้า ควรทานหลังตื่นนอนประมาณ 30 นาที เพื่อเพิ่มพลังงานและโภชนาการเด็กที่ดีของเด็ก
    • อาหารว่าง ให้ผลไม้หรือของว่างสุขภาพระหว่างมื้อเช้าและเที่ยง
    • อาหารกลางวัน ควรทานในช่วงสาย ไม่เกิน 12.00 น. และรับประทานอาหารตามภชนาการเด็ก
    • อาหารว่างบ่าย เลือกของว่างเบา ๆ นม โยเกิร์ต
    • อาหารเย็น ควรทานไม่เกิน 18.00 น. เพื่อให้ย่อยง่ายก่อนนอน
  • การนอน

    • นอนกลางวัน ควรนอนช่วงสายและบ่าย โดยรวมประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้เด็กไม่เหนื่อยล้า
    • นอนกลางคืน ควรนอนเวลาเดิมทุกคืน ประมาณ 19.00-20.00 น. หรือควรนอนอย่างน้อย 10-12 ชั่วโมงต่อวัน
  • การเล่น

    • ช่วงเช้า เล่นกิจกรรมที่กระตุ้นสมอง อ่านนิทานหรือเล่นบล็อก
    • หลังอาหารกลางวัน เล่นกิจกรรมที่ใช้พลังงาน วิ่งเล่นหรือเล่นกลางแจ้ง
    • ช่วงเย็น เลือกกิจกรรมสงบ ๆ ระบายสีหรือฟังเพลง เพื่อช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอน
อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก

อาหารที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก

เด็กเล็กต้องการอาหารที่ช่วยพัฒนาการทางร่างกายและสมอง จึงควรรู้วิธีเลือกอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย

  • ผักและผลไม้ มีวิตามินและไฟเบอร์ ช่วยเสริมพัฒนาการและระบบย่อยอาหารสำหรับเด็ก
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ไก่ ปลา ให้โปรตีนสูงสำหรับการเจริญเติบโต
  • ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีนและโคลีน ช่วยพัฒนาสมอง
  • นมและผลิตภัณฑ์จากนม ให้แคลเซียมและวิตามินดี ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน เป็นอาหารสำหรับเด็กที่สำคัญ
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ให้พลังงานและไฟเบอร์
  • ถั่วและธัญพืชต่างๆ ให้โปรตีน ไขมันดี และเสริมพัฒนาการสมอง
  • น้ำเปล่า ดื่มน้ำเปล่าตลอดวันเพื่อให้ร่างกายชุ่มชื้นและระบบย่อยทำงานดี

วิธีจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก

 จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ที่กั้นบันได ปลั๊กไฟครอบ และตรวจสอบของเล่นให้ปลอดภัย

  • ติดตั้งที่กั้นบันได ป้องกันเด็กพลัดตกจากบันไดเพื่อความปลอดภัยของเด็ก
  • ครอบปลั๊กไฟ ใช้ที่ครอบปลั๊กเพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด
  • จัดเก็บของมีคมและของอันตรายให้พ้นมือเด็ก เก็บมีด กรรไกร และของมีคมอื่น ๆ ไว้ในที่ที่เด็กเอื้อมไม่ถึง
  • ล็อกประตูตู้และลิ้นชัก ป้องกันไม่ให้เด็กเปิดเข้าไปหยิบสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย
  • ใช้ที่กั้นเตียง ป้องกันการพลัดตกจากเตียงขณะนอน
  • ติดตั้งกันกระแทกมุมเฟอร์นิเจอร์ ป้องกันการกระแทกจากมุมโต๊ะหรือขอบเฟอร์นิเจอร์
  • เก็บของเล่นและสิ่งของขนาดเล็กให้พ้นมือเด็กเล็ก ลดความเสี่ยงที่เด็กอาจกลืนหรือสำลัก
  • วางของใช้ในครัวให้พ้นมือเด็ก จัดอุปกรณ์ทำอาหารร้อนๆเช่น หม้อ กระทะ ให้ห่างจากขอบโต๊ะ
  • ตรวจสอบความมั่นคงของเฟอร์นิเจอร์ ยึดตู้และชั้นวางกับผนังให้แน่นเพื่อป้องกันการล้มทับ
  • ใช้ประตูหรือหน้าต่างที่ล็อกได้ ป้องกันเด็กเปิดหน้าต่างหรือประตูออกไปข้างนอกเองเพื่อความปลอดภัยของเด็ก

วิธีป้องกันโรคในเด็กเล็ก

  • ล้างมือบ่อย ๆ ฝึกให้เด็กและผู้ดูแลล้างมือเป็นประจำ เพื่อลดโรคติดต่อในเด็ก
  • ฉีดวัคซีนตามกำหนด ตรวจสอบและพาเด็กไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ
  • รักษาความสะอาดของของเล่นและสิ่งของในบ้าน ทำความสะอาดของเล่นและพื้นที่ที่เด็กใช้งานบ่อย ๆ
  • ให้เด็กพักผ่อนเพียงพอ การนอนที่เหมาะสมช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • เสริมสร้างอาหารที่มีคุณค่า ให้เด็กได้รับอาหารที่มีประโยชน์เพื่อสร้างภูมิต้านทานที่ดี
  • หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หากมีผู้ป่วยในบ้าน ควรแยกห่างจากเด็กเล็กเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและโรคติดต่อในเด็ก
  • สอนเด็กไม่จับหน้า ตา จมูก ปาก เพื่อลดโอกาสเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
  • ใช้ผ้าเช็ดปากส่วนตัว ป้องกันการแพร่เชื้อโรคผ่านสิ่งของใช้ส่วนตัว
  • รักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยและสะอาด จัดสภาพแวดล้อมให้ปราศจากสารเคมีหรือฝุ่นละอองที่เป็นอันตราย
  • ออกกำลังกายและมีกิจกรรมกลางแจ้ง ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น

โรงพยาบาลเด็กแตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไปอย่างไร?

  • ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โรงพยาบาลเด็กมีแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาเด็กโดยเฉพาะ เข้าใจพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจของเด็กในแต่ละวัย
  • อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ โรงพยาบาลเด็กมีอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ที่ออกแบบเฉพาะสำหรับเด็ก เครื่องช่วยหายใจขนาดเล็ก หรือเตียงที่เหมาะกับขนาดตัวของเด็ก
  • การจัดสภาพแวดล้อม โรงพยาบาลเด็กมักออกแบบสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับเด็ก มีสีสันสดใส มีของเล่น และมุมกิจกรรม เพื่อให้เด็กผ่อนคลายและไม่กลัว
  • การสื่อสารและการดูแลเฉพาะทาง บุคลากรในโรงพยาบาลเด็กมีความชำนาญในการสื่อสารกับเด็กและเข้าใจพฤติกรรมการตอบสนองของเด็ก ทำให้การดูแลเป็นไปอย่างละเอียดอ่อนและเหมาะสม
  • การเน้นสุขภาพจิตและอารมณ์ของเด็ก โรงพยาบาลเด็กให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพจิตและอารมณ์ของเด็ก มีกิจกรรมเพื่อบำบัดความกลัวหรือความเครียดจากการรักษา
  • การให้คำปรึกษากับผู้ปกครอง โรงพยาบาลเด็กมักมีบริการให้คำปรึกษาและคำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง เพื่อช่วยให้สามารถดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง

เด็กเล็กควรฉีดวัคซีนช่วงอายุเท่าไหร่?

  • แรกเกิด วัคซีนเด็กป้องกันวัณโรค (BCG) และตับอักเสบบี (HBV เข็มที่ 1)
  • อายุ 2เดือน วัคซีนตับอักเสบบี (HBV เข็มที่ 2), วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP), โปลิโอ (OPV/IPV), และฮิบ (Hib)
  • อายุ 4เดือน วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน, โปลิโอ, ฮิบ (เข็มที่ 2)
  • อายุ 6เดือน วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน, โปลิโอ, และฮิบ (เข็มที่ 3)
  • อายุ 9เดือน วัคซีนเด็กป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR เข็มที่ 1)
  • อายุ 1ปี วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี (JE) และอีสุกอีใส
  • อายุ 18เดือน วัคซีนป้องกันหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR เข็มที่ 2) และคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP เข็มกระตุ้น)
  • อายุ 4-6ปี วัคซีนเด็กป้องกันโปลิโอและคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (เข็มกระตุ้น)

คำแนะนำในการเลือกพี่เลี้ยงเด็กเล็ก

  • ตรวจสอบประวัติและประสบการณ์ เลือกพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กเล็ก รับเลี้ยงเด็ก และมีประวัติการทำงานที่น่าเชื่อถือ

  • พิจารณาคุณสมบัติและการฝึกอบรม พี่เลี้ยงควรมีการฝึกอบรมด้านการดูแลเด็ก รับเลี้ยงเด็ก และมีความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • สัมภาษณ์และสังเกตพฤติกรรม พูดคุยกับพี่เลี้ยงเพื่อประเมินทัศนคติ ความอดทน และความรักต่อเด็ก

  • ตรวจสอบเอกสารและใบรับรอง ขอดูเอกสารประจำตัว ใบรับรองการฝึกอบรม หรือใบอนุญาตที่เกี่ยวข้อง

  • สอบถามความคิดเห็นจากผู้อ้างอิง ติดต่อผู้อ้างอิงหรือครอบครัวที่เคยใช้บริการรับเลี้ยงเด็ก เพื่อรับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์

  • สังเกตการปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ให้พี่เลี้ยงทดลองดูแลเด็กสักระยะ เพื่อสังเกตการปฏิสัมพันธ์และความเข้ากันได้กับเด็ก

  • พิจารณาความยืดหยุ่นและความพร้อม พี่เลี้ยงควรมีความยืดหยุ่นในเวลาทำงาน และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน

หรือปรึกษา Need Nurse Group โดยตรงเพื่อสอบถามข้อมูลของบริการรับเลี้ยงเด็ก ได้ที่ โทรศัพท์. 081-924-2635 หรือ 082-791-6559 และ LINE: @NEEDNURSE

Nicha
เมื่อคนที่คุณรักต้องการการดูแลที่ดีที่สุด แต่คุณเองก็ต้องการความสบายใจ Need ผู้ดูแล ... นึกถึง Need Nurse เพราะเราคือคำตอบของความอุ่นใจและการดูแลที่คุณวางใจได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า